GISTDA เทียบพื้นที่น้ำท่วมไทยช่วงกันยายน 2554, 2564 และ 2565 พบว่าปริมาณน้ำท่วมขังในขณะนี้ยังห่างอยู่ 3 เท่าตัว
วันที่ 6 เดือนตุลาคม 2565 มีรายงานว่า GISTDA เปิดเผยข้อมูลภาพจากดาวเทียมแสดงสถานการณ์น้ำท่วมของกันยายนปี 2554, 2564 และ 2565 พบว่าปี 2554 มีปริมาณน้ำท่วมขังทั่วประเทศ จำนวน 15,996,150 ไร่, ปี 2564 จำนวน 5,648,252 ไร่ และในปี 2565 (ล่าสุด) พบพื้นที่น้ำท่วมขังจำนวน 5,331,739 ไร่ ด้วยเหตุนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2554 พบว่าปริมาณน้ำท่วมขังในขณะนี้ยังห่างอยู่ 3 เท่าตัว
สถานการณ์น้ำในขณะนี้ หลายๆคนเป็นกังวลเป็นอย่างมากว่าจะท่วมหนักเหมือนเมื่อ 10 ปีก่อนหรือไม่ เพราะว่าด้วยปริมาณฝนที่ตกลงมาอย่างไม่ขาดสายนำมาซึ่งก่อให้เกิดน้ำสะสมในหลายพื้นที่ ประกอบกับพายุโนรูที่เพิ่งจะแผลงฤทธิ์ไปสดๆร้อนๆส่งผลให้เกิดความเสียหายและน้ำท่วมในหลายพื้นที่
อีกทั้งปริมาณน้ำในลำน้ำและอ่างเก็บน้ำหลายแห่งเริ่มล้นแล้ว เป็นเหตุให้เกิดน้ำท่วมมากเพิ่มขึ้น พื้นที่ลุ่มต่ำได้รับผลพวงทุกหนทุกแห่งทำความเสียหายในหลายพื้นที่โดยเฉพาะอย่างยิ่งลุ่มน้ำเจ้าพระยา ลุ่มน้ำชีและลุ่มน้ำมูลที่มีปริมาณน้ำเพิ่มสูงขึ้น น้ำระบายไม่ทัน รอการระบาย สิ่งหนึ่งที่ต้องเฝ้าระวัง คือปริมาณฝนที่ตกลงมาเพิ่มเติมในพื้นที่ที่จะทำให้น้ำท่วมเพิ่มสูงมากขึ้น รวมถึงพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
หากมองย้อนกลับไปในช่วงของปี 2554 และปี 2564 ของกันยายน จะเห็นได้ว่าปี 2554 ประเทศไทยมีพื้นที่น้ำท่วมขังมากกว่าปี 2565 แต่ทั้งนี้ปรากฏการณ์ลานีญาที่เกิดขึ้นทำให้ฝนมาเร็วกว่าปี 2564
ส่องมวลน้ำรายภูมิภาค เทียบระหว่างปีมหาอุทกภัย 2554 กับปีปัจจุบัน 2565
กันยายน 2554
ภาคเหนือ 350,015 ไร่
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4,412,704 ไร่
ภาคกลาง 9,702,429 ไร่
ภาคตะวันออก 1,207,294 ไร่
ภาคตะวันตก 258,127 ไร่
ภาคใต้ 65,581 ไร่
กันยายน 2565
ภาคเหนือ 154,456 ไร่
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1,955,311 ไร่
ภาคกลาง 2,814,646 ไร่
ภาคตะวันออก 147,844 ไร่
ภาคตะวันตก 259,481 ไร่
ภาคใต้ 0 ไร่